วันจันทร์, ธันวาคม ๒๔, ๒๕๕๐

ดาวเทียมที่ประเทศไทใช้งาน

ดาวเทียมไทยคม 1A
ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2536 ในตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออกและย้ายไปที่ 120 องศาตะวันออกเมื่อ พฤษภาคม 2540 ส่วนดาวเทียมไทยคม 2 ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2537 ดาวเทียมทั้ง 2 ดวงเป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 แบบ Dual Spin ผลิตโดย บริษัท ฮิวจ์ แอร์คราฟท์ ประเทศสหรัฐอเมริกาหรือบริษัทโบอิ้งในปัจจุบัน พื้นที่การให้บริการย่านความถี่ C-Band ของดาวเทียมไทยคม 1A และ

ดาวเทียมไทยคม 2

ครอบคลุมประเทศไทย ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลี ญี่ปุ่น และชายฝั่งตะวันออกของประเทศจีน ส่วนพื้นที่การให้บริการในย่านความถี่ Ku-Band ของดาวเทียมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2 ครอบคลุมประเทศไทยและประเทศในแถบอินโดจีน โดยดาวเทียมไทยคม 1A อยู่ที่ตำแหน่งวงโคจร 120 องศาตะวันออก ดาวเทียมไทยคม 2 อยู่ที่ตำแหน่งวงโคจร 78.5 องศาตะวันออก จำนวนช่องสัญญาณในย่าน C-Band ดาวเทียมไทยคม 1A มีจำนวน 12 ทรานสพอนเดอร์ ดาวเทียมไทยคม 2 มีจำนวน 10 ทรานสพอนเดอร์ โดยความถี่ของช่องสัญญาณของดาวเทียมทั้งสองดวงอยู่ที่ 36 MHz ส่วน Ku-Band ดาวเทียมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2 มีจำนวนดวงละ 3 ทรานสพอนเดอร์ โดยความถี่ช่องสัญญาณของดาวเทียมทั้งสองดวงอยู่ที่ 54 MHz มีอายุการใช้งาน 15 ปี


ไทยคม 3
ดาวเทียมไทยคม 3 เป็นดาวเทียมรุ่น 3 แกน ผลิตโดย บริษัท อัลคาเทล สเปซ ซิสเต็ม ประกอบด้วยย่านความถี่ C-Band จำนวน 25 ทรานสพอนเดอร์ และย่านความถี่ Ku-Band จำนวน 14 ทรานสพอนเดอร์ โดยถูกส่งเข้าสู่วงโคจรในตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก เมื่อ 16 เมษายน 2540โดยย่านความถี่ C-Band Global Beam ของไทยคม 3 ครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป คือเอเชีย, ยุโรป, ออสเตรเลีย และแอฟริกา ส่วนพื้นที่การให้บริการของ Spot Beam ในย่าน Ku-Band นั้นครอบคลุมประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคอินโดจีน ส่วน Steerable Beam ในย่านความถี่ Ku-Band ของดาวเทียมไทยคม 3 สามารถให้บริการในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในสี่ทวีปได้อีกด้วย มีจำนวนช่องสัญญาณ C-Band Global Beam จำนวน 7 ทรานสพอนเดอร์ C-Band Regional Beam จำนวน 18 ทรานสพอนเดอร์และมีช่องสัญญาณในย่านความถี่ซีแบนด์เท่ากับ 36 MHz ส่วนในย่าน Ku-Band นั้น Ku-Band Spot Beam จำนวน 7 ทรานสพอนเดอร์ แบ่งเป็น 2 ช่องทรานสพอนเดอร์ มีความถี่ของช่องสัญญาณ เท่ากับ 54 MHz ส่วนอีก 5 ช่องทรานสพอนเดอร์ มีความถี่ของช่องสัญญาณเท่ากับ 36 MHz และ Ku-Band Steerable Beam มีความถี่ของช่องสัญญาณเท่ากับ 36 MHz

ดาวเทียมไทยคม 4 (IP Star)
เรียกได้ว่าเป็นดาวเทียมแบบ interactive หรือพูดให้เข้าใจได้ง่ายคือสามารถเล่นอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียมนี้ได้ทุกที่ ใช้เทคโนโลยีการกระจายคลื่นแบบรังผึ้งเหมือนกับที่ใช้ในระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผนวกกับระบบจานสายอากาศดาวเทียมแบบใหม่ ทำให้ดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) สามารถนำความถี่กลับมาใช้งานใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้การรับส่งสัญญาณเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังใช้ระบบบริหารการรับ-ส่งสัญญาณตามสภาพความต้องการการใช้งานของผู้ใช้ เพื่อทำให้การส่งสัญญาณมีประสิทธิภาพสูงสุด ดาวเทียม ไอพีสตาร์ สามารถรับส่งข้อมูลได้ถึง 45 กิกะบิตต่อวินาที (Gbps) ซึ่งสูงกว่าดาวเทียมปกติถึง 20 เท่า ทำให้สามารถรองรับความต้องการใช้งาน อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง จำนวนมากได้นับล้านคน จำนวนบีม Ku-Spot Beam 84 บีม Ku-Shape Beam 3 บีม Ku-Broadcast Beam 7 บีม ความสามารถในการรับส่งข้อมูล 45 กิกะบิตต่อวินาที (Gbps) เทียบเท่ากับมากกว่า 1,000 ทรานสพอนเดอร์ แบบความถี่ 36 เมกะเฮิร์ทซ์ ของดาวเทียมทั่วไป อยู่ที่ตำแหน่งวงโคจร 119.5 องศาตะวันออก


ดาวเทียมไทยคม 5
ดาวเทียมไทยคม 5 เป็นดาวเทียมรุ่น 3 แกน ผลิตโดย บริษัท อัลคาเทล อาลีเนีย สเปซ ประกอบด้วยย่านความถี่ C-Band จำนวน 25 ทรานสพอนเดอร์ และย่านความถี่ Ku-Band จำนวน 14 ทรานสพอนเดอร์ โดยย่านความถี่ C-Band Global Beam ของไทยคม 3 ครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป คือเอเชีย, ยุโรป, ออสเตรเลีย และแอฟริกา ส่วนพื้นที่การให้บริการของ Spot Beam ในย่านความถี่ Ku-Band นั้นครอบคลุมประเทศไทย และประเทศในภูมิภาคอินโดจีน ส่วน Steerable Beam ในย่านความถี่ Ku-Band ของดาวเทียมไทยคม 5 ครอบคลุมประเทศเวียดนาม และประเทศในภูมิภาคอินโดจีน มีตำแหน่งอยู่ที่ 78.5 องศาตะวันออก

วันศุกร์, พฤศจิกายน ๑๖, ๒๕๕๐

คำศัพท์ที่เกี่ยวกับโทรคมนาคม

1. Bus หรือ บัส คือเส้นทางรับ-ส่งสัญญาณ ทั้งข้อมูลและคอนโทรล ที่เชื่อมถึงอุปกรณ์ทุกๆชิ้นในเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเน็ตเวิร์ค เมื่อมีการส่งสัญญาณข้อมูล เฉพาะอุปกรณ์ที่ถูกแอดเดรสหรือระบุไว้เท่านั้นจึงจะรับข้อมูลก้อนนั้นได้ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ บัสจะหมายถึง เส้นทางข้อมูลที่เชื่อมระหว่างไมโครโปรเซสเซอร์กับอุปกรณ์ที่เสียบเข้ากับสล็อตต่างๆบนเมนบอร์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ, ซีดีรอมไดร์ฟ, ซาวด์การ์ด และกราฟิกการ์ด เป็นต้น


2. Broadband คือคำเรียกทั่วๆ ไปของระบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูงชนิดต่างๆ เช่น DSL และโมเด็มผ่านสายเคเบิล บรอดแบนด์ สามารถส่งข้อมูลรูปแบบต่างๆ อาทิ เสียง ข้อมูลและวิดีโอ ได้พร้อมๆกัน บรอดแบนด์หมายถึง เทคโนโลยีการส่งข้อมูลที่มีความเร็วในการดาวน์โหลดประมาณ 2 Mbps หรือมีความเร็วสูงกว่าโมเด็มแบบ 56 K ถึง 40 เท่า


3. Analog เทคโนโลยีเครือข่ายการสื่อสารไร้สายที่ใช้สัญญาณคลื่นความถี่วิทยุ โดยข้อมูลจะถูกส่งไปในรูปของคลื่นเสียงผ่านสัญญาณวิทยุ ระบบอนาล็อกจะสามารถจัดช่องสัญญาณให้ใช้งานได้ 1 สายต่อ 1 ช่องสัญญาณ ซึ่งแตกต่างจากระบบดิจิตอลที่สามารถรองรับการใช้งานได้หลายๆ สายพร้อมกันต่อ 1 ช่องสัญญาณ ดังนั้นการสื่อสารไร้สายส่วนใหญ่จึงนิยมใช้ระบบการส่งข้อมูลแบบดิจิตอล


4. WIFI บรอดแบนด์ไร้สาย กำลังเปิดโอกาสและมุมมองใหม่ๆ ในการสื่อสาร WiFi หรือขีดความสามารถแบบ 802.11 ซึ่งเป็นบรอดแบนด์ไร้สายระยะใกล้ทำให้คอมพิวเตอร์สื่อสารกันเอง สื่อสารกับอินเทอร์เน็ตได้

5. cable modem เป็นอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลกับสายเคเบิลทีวี และรับข้อมูลที่ 1.5 Mbps อัตราข้อมูลสูงกว่าโมเด็มโทรศัพท์ขนาด 28.8 และ 56 kbps หรือระบบ Integrated Services Digital Network (ISDN ) ขนาด 128 kbps และอัตราข้อมูลรองรับกับระบบ Digital Subscriber Line (DSL) นอกจากนี้ cable modem สามารถเพิ่มหรือรวมกับ set-top-box ที่ให้โทรทัศน์ใช้ช่องสัญญาณของอินเตอร์เน็ต ในกรณีส่วนใหญ่ cable modem สามารถทำเป็นส่วนการเข้าถึงทางสายเคเบิล ซึ่งไม่ต้องซื้อโดยตรงและติดตั้งโดยผู้ให้บริการ


6. Enhanced IDE เป็นมาตรฐานการอินเตอร์เฟซอีเลคโทรนิคส์ ระหว่างคอมพิวเตอร์กับไดร์ฟ เก็บข้อมูล Enhanced IDE (EIDE) ได้รับการพัฒนาเป็น integrated drive electric ทำให้สามารถระบุฮาร์ดดิสก์ได้มากกว่า 528 MB ซึ่ง EIDE ให้การเข้าถึงเร็วกว่าไปยังฮาร์ดดิสก์ สนับสนุน Direct Memory Access และสนับสนุนการเพิ่มไดร์ฟ รวมถึง CD-ROM และเทปรวมถึง AT Attachment Packet Interface เมื่อมีการปรับปรุงคอมพิวเตอร์ด้วยฮาร์ดดิสก์ที่ใหญ่ตัวควบคุม EIDE สามารถเพิ่มไปยังคอมพิวเตอร์ด้วยการ์ด หรือ slot


7. Exterior Gateway Protocol (EGP) เป็นโปรโตคอล สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของ router ระหว่าง 2 เครือข่ายของ gateway host ในระบบเครือข่ายแบบอัตโนมัติ ซึ่ง EGP มีการใช้โดยทั่วไป ระหว่าง host บนอินเตอร์เน็ต เพื่อแลกเปลี่ยนสารสนเทศของตาราง routing โดยตาราง routing ประกอบด้วยรายการ router ตำแหน่งที่ตั้ง และเมทริกของค่าใช้จ่ายของแต่ละ router เพื่อทำให้สามารถเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด กลุ่มของ router แต่ละกลุ่มจะใช้เวลาภายใน 120 วินาที ถึง 480 วินาที ในการส่งข้อมูลส่งตาราง routing ทั้งหมดไปยังเครือข่ายอื่น ซึ่ง EGP -2 เป็นเวอร์ชันล่าสุดของ EGP ส่วน Exterior Gateway Protocol แบบล่าสุดคือBorder Gateway Protocol (BGP) ซึ่งมีความสามารถเพิ่มขึ้น


8. Jug head เป็นเครื่องมือที่ใช้โดยนักวิจัย หรือบรรณารักษ์ ในการค้นหาสารสนเทศ บน web site ของ gopher ซึ่งสามารถใช้ในการเมนูการค้นหาสำหรับโครงสร้าง gopher โดย Jug head คล้ายกับ veronica ซึ่งเป็นเครื่องมือค้นหาบน gopher อย่างไรก็ตาม jug head มีความทันสมัยน้อย และเฉพาะภายใน gopher เมื่อไฟล์บนแม่ข่าย gopher ได้แปลงเป็นไฟล์ HTML แล้ว gopher จึงมีความสำคัญน้อยลง


9. user interface ประกอบด้วยคำสั่งของระบบปฏิบัติการ รูปแบบการแสดงกราฟฟิคและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมยินยอมให้ผู้ใช้ติดต่อ ส่วนคำว่า graphic user interface (GUI) เป็นการให้ผู้ใช้สามารถติดต่อผ่านภาพ (graphic - oriented) ตามปกติ GUI สามารถสร้างความคุ้นเคยในการติดต่อกับระบบคอมพิวเตอร์

10.Line print terminal (LPT) เป็นการออกแบบพอร์ตแบบขนาน (Parallel port) ในการเชื่อมกับเครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์อื่นบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยส่วนใหญ่จะมี 2 พอร์ต คือ LPT1 และ LPT2 ซึ่ง LPT1 มักจะเป็นพอร์ตกำหนดเริ่มต้น ในระบบสนับสนุน LPT3 ที่สามารถเพิ่มพอร์ตแบบขนานสำหรับเครื่องพิมพ์ที่สองได้ โดยการเพิ่มการ์ด adaptor ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้พอร์ต LPT สามารถใช้อุปกรณ์ เช่น Quickcam


11. leased line เป็นสายโทรศัพท์ที่เช่าสำหรับการใช้ส่วนบุคคล ในบางความหมาย เรียกว่า dedicated line โดยปกติ leased line มีความหมายต่างจาก switched lineหรือ dial-up line ตามแบบแผน บริษัทขนาดใหญ่ เช่า leased line จากผู้ให้บริการโทรศัพท์ เพื่อเชื่อมต่อภายในตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ต่างกันของบริษัท มีอีกวิธี คือ ใช้สายสาธารณะ หรือ switched line แต่ความปลอดภัย ของโปรโตคอล และข่าวสาร


12. method ใน object-oriented programming, method เป็นขั้นตอนของโปรแกรมซึ่งกำหนดเป็นส่วนของ class และรวมถึงอ๊อบเจคต่าง ๆ ของ class โดยที่ class สามารถมีเมธอดได้มากกว่าหนึ่ง method ในอ๊อบเจคสามารถได้รับการเข้าถึงข้อมูลที่รับรู้โดยอ๊อบเจค ซึ่งทำให้มั่นใจว่าข้อมูลเป็นเอกภาพ ในระหว่างกลุ่มของอ๊อบเจคในโปรแกรมประยุกต์ เมธอดสามารถนำมาใช้ใหม่ในหลายอ๊อบเจค


13. Mirror Site หมายถึง Web site หรือกลุ่มของไดร์บนเครื่องแม่ข่ายที่ได้รับการก๊อปปี้ไปยังเครื่องแม่ข่ายอื่น เพื่อลดการหนาแน่นของเครือข่าย เพื่อทำให้สามารถเข้าถึง Web Site หรือการ Download ไฟล์ทำให้รวดเร็วขึ้น Mirror Site เป็นการสร้าง Replication จากเว็บต้นแบบและมีการปรับปรุงอยู่เสมอ เพื่อทำให้มีข้อมูลกับต้นแบบ โดยปกติ Mirror site สามารถเข้าถึงได้เร็วกว่า เช่น ผลจากระยะทาง


14. multicast เป็นการสื่อสารระหว่างผู้ส่ง 1 รายกับผู้รับหลายรายบนระบบเครือข่าย การใช้โดยทั่วไป รวมถึงการปรับปรุงจากสำนักงาน และเอกสารตามระยะเวลา ของจดหมายข่าว เมื่อรวมกับ anycast, unicast และmulticast ซึ่งเป็นประเภทแพ็คเกตใน Internet Protocol Version 6 (IPV 6)


15. Gopher เป็นโปรโตคอลแบบประยุกต์บนอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะจัดโครงสร้างไฟล์ที่อยู่บนเครื่องแม่ข่าย โดยไฟล์เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบสารสนเทศ Gopher จะให้วิธีการไปดึงไฟล์ประเภทข้อความจากทุกที่ เพื่อนำมาดูในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ซึ่งได้รับความนิยมมาก ในช่วงที่ผ่านมา Gopher เป็นชั้นหนึ่งของการเข้าสู่ Hypertext Transfer Protocol (HTTP) ด้วยการเชื่อมแบบ Hypertext link และ HTML ทำให้เกิด web browser แบบกราฟฟิกอย่างรวดเร็วโดยเข้าที่ Gopher ในส่วนโครงสร้างไฟล์ แบบ Gopher ดั้งเดิมยังสามารถเชื่อมกับ web browser โดยส่วนใหญ่ Gopher ได้รับการพัฒนาที่ University of Minnesota ซึ่งมีทีมกีฬาชื่อ "the Golden Gophers"
ที่มา
1. http://www.widebase.net/knowledge/itterm/it_term_menu.php?term_group=K
2. http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?passTo=eaabb3bf29c6b6b7f2e0cf6f7cdaa026&bookID=166&read=true&count=true